ค้นหาบล็อกนี้

วันศุกร์ที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2555

Morning ✿


เช้านี้ มีดอกไม้มาฝากค่ะ ^^
วาดเองนะค่ะ


วันจันทร์ที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2555

เรียน แบบประหยัดเงิน

เรียน แบบประหยัดเงิน

      เพื่อนๆหลายคนอยากเรียนหนังสือแบบถูกๆ และถ้าฟรีมันก็น่าจะเป็นอะไรที่ดีที่สุดนิ(ตามประสาคนรู้จักคุณค่าของเงินอะนะ)

       1 เรียนผ่านทางอินเตอร์เน็ต (เดี๋ยวนี้ที่www.youtube.com ก็มีวีดีโอที่สอนเกี่ยวกับเรื่องภาษาอยู่หลายคลิปทีเดียวทั้งไม่เสียค่าใช้จ่ายและเราก็ได้เล่นเน็ตด้วยและเราก็สามารถเก็บไว้ดูวันอื่นๆเพื่อทวนความจำอีกก็ได้  จิงปะ ^______^)

        2 ถ้าเพื่อนๆที่บ้านไม่ได้ต่ออินเตอร์เน็ตหรือกลัวว่าไปใช่อินเตอร์เน็ตที่ร้อนเน็ตมันจะแพงนะ ก็ไปที่ห้องสมุดชุมชน หรือหอสมุดแห่งชาติหรือห้องสมุดที่มหาลัยก็ได้นะ (ฟรี)

        3 ห้องสมุดเป็นแหล่งความรู้ที่สำคัญมาก ใหญ่มากและไม่เสียเงินมาก(อันนี้สำคัญสุดอะสำหรับเรานะ^___^) มีทุกอย่างที่คุณอยากรู้ ทุกภาษา ในเน็ตก็จะมีเว็ปไซด์หลายเว็ปทีเดียวที่ให้ความรู้แต่ถ้าจะเรียนภาษาให้ดีแนะนำให้โหลดเพลงมาฟังและจะดียิ่งขึ้นถ้าเราไปหาโหลดเนื้อเพลงมาด้วยเพื่อสะดวกนะการอ่านทำความเข้าใจและการฮำตามไปเบาๆ  การฟังบ่อยๆและฮำเพลงบ่อยๆมันจะทำให้เราได้สำเนียงมากขึ้นและได้ความเพลิดเพลินมากขึ้นด้วย

        4 การหาเพื่อนเป็นชาวต่างชาติซักคนก็ทำให้เราสามารถฝึกภาษาได้อีกเช่นกันถูกบ้างผิดบ้างเค้าก็ไม่เครียดอะไรหรอก(เผื่อบางทีอาจได้แฟนเป็นชาวต่างชาตฺด้วยก็ได้) หรืออาจจะหาแรงบัลดาลใจที่เป็นชาวต่างชาติ เช่น จีน เกาหลี อังกฤษ ที่แบบว่าหล่อๆ55555 ก็ได้แล้วคอยติดตามดูเค้าห่างๆแบบว่าพยายามอ่านบทความของเค้าจะทำให้เราได้ภาษาเพิ่มขึ้นโดยที่เราไม่รู้ตัว(อันนี้เราเคยทำแล้ว5555555 Q (^0^) v ภาพ ชูสองนิ้วและกำหมัดแบบภูมใจ)

        5 พยายามใช้คำศัพท์บ่อยๆ ถ้าให้ดีลงทุนซื้อดิกส์ซักเล่มเพื่อที่อยากจะพูดคำไหนแล้วไม่รู้ก็ไปเปิดหาได้

        6 ของทุกชิ้นที่เป็นของๆเรา ถ้าให้ดีและอยากได้ศัพท์เพิ่มก็เอาคำศัพท์ที่แปลนั้นไปแปะไว้ตามส่วนต่างๆที่อยู่ในห้องเรา ของทุกชิ้นของเรา พอใช้ของก็อ่านก่อนใช้ทุกครั้งก็จะทำให้จำได้มากและจำได้นานขึ้นด้วยแถมยังเป็นแบบว่าเอกลักษณ์ของของใช้ส่วยตัวเราอีกด้วยใครยืมไปนี่ไม่ต้องกลัวลืมกันเลยทีเดียว




credit http://meemoneymark.blogspot.com/

การนำเสนองาน

                              มีเรื่องเล่าเกี่ยวกับ การนำเสนอแบบมืออาชีพมาฝากค่ะ


เมื่อวันที่ 30 กันยายน ค.ศ. 2005 วอร์เร็น  บัฟเฟ็ตต์  และบิลล์ เกตส์ ไปบรรยายให้นักศึกษาคณะ บริหารธุรกิจที่มหาวิทยาลัยเนบราสก้าฟัง  มีคำถามจากนักศึกษาคนหนึ่งถามว่า วอร์เร็นจะแนะนำอะไร สำหรับนักศึกษาที่กำลังจะจบการศึกษาเข้าสู่โลกธุรกิจ พวกเขาควรจะเตรียมตัวอย่างไรบ้างเพื่อความก้าวหน้าในอาชีพ 

วอร์เร็นตอบว่าการพูดในที่สาธารณะเป็นทักษะที่สำคัญและจำเป็น ถ้ามีทักษะการนำเสนอที่ดีมันก็จะ เป็นสินทรัพย์ หากไม่มีก็เสมือนเป็นหนี้สิน เพราะว่าทักษะนี้มันจะอยู่กับเราไปห้าหกสิบปีในชีวิตทำงาน  สำหรับเขาแล้วเคยอบรมทักษะการพูดในที่สาธารณะของเดลคาร์เนกี้ตั้งแต่ปีค.ศ. 1951 เมื่อทักษะนี้สำคัญ  แต่ปรากฏว่าในโลกแห่งความเป็นจริงกับตรงกันข้าม 

ในดีวีดีเรื่อง  Conquering Death by PowerPoint ของ J. Douglas Jeffereys เขาได้แสดงสถิติที่น่า สนใจจากผลการสำรวจลูกค้าของเขาในช่วง มิ.ย. ค.ศ. 2001 ถึง ธ.ค. ค.ศ. 2004  พบว่า  60% ของ คนทั่วไปพบว่าการนำเสนอในทางธุรกิจน่าเบื่อ  34%  บอกว่าทรมานที่ต้องนั่งฟัง  มีเพียง 19% บอกว่า มีประสบการณ์การฟังการนำเสนอที่น่าสนุกและประทับใจ 

จากหนังสือ Presenting to Win by Jerry Weissman มีการประมาณการว่าในแต่ละวันทั่วโลกมีการนำ เสนอโดยใช้ PowerPoint กว่า 30 ล้านครั้ง คิดดูว่าแต่ละวันมันเป็นความสูญเสียทางธุรกิจขนาดไหน  หากการนำเสนอส่วนใหญ่เป็นอย่างที่สถิติบอกไว้ ที่จริงความเสียหายไม่ใช่แต่เพียงความน่าเบื่อหรือความทรมานจากการทนฟังการนำเสนอที่ไม่น่าสนใจเท่านั้น  ความไม่ชำนาญในทักษะการจัดทำ PowerPoint อาจจะฆ่าคนตายได้ 

Edward Tufte  ผู้เชี่ยวชาญด้านการสื่อสารและการนำเสนอ  ซึ่งได้รับการยกย่องจาก New York Times ว่าเป็น “ลีโอนาร์โด ดาวินชี่ ทางด้านข้อมูล” ระบุว่าทักษะในการนำเสนอที่ไม่เก่งของวิศวกร จากองค์กรหนึ่งผนวกกับสไลด์ PowerPoint ที่อัดแน่นไปด้วยข้อมูล  ทำให้ผู้บริหาร NASA ไม่สามารถ เชื่อและเข้าใจว่ากระสวยอวกาศโคลัมเบียมีความเสี่ยงด้านเทคนิค ในที่สุดโคลัมเบียก็เกิดอุบัติเหตุขึ้น เมื่อวันที่  1  กุมภาพันธ์  ค.ศ.  2003 เป็นเหตุให้ลูกเรือนักบินอวกาศทั้งเจ็ดคนต้องเสียชีวิต  ทั้งนี้หาก วิศวกรจากบริษัที่ว่ามีทักษะในการนำเสนอที่ดีและสไลด์ที่สื่อความได้อย่างมีประสิทธิภาพแล้ว โศกนาฏกรรมครั้งนั้นอาจจะไม่เกิดขึ้น ส่วนใหญ่แล้วการนำเสนอทางธุรกิจมักจะพลาดท่าเสียทีอยู่สองเรื่องคือ  ในตอนที่ออกแบบ หรือใน ตอนที่นำเสนอ  ผมอยากแชร์ประสบการณ์ที่อาจจะช่วยทำให้การออกแบบทำได้ดีขึ้น 
เวลาที่เราจัดเตรียมการนำเสนอนั้น  เราควรตอบคำถามนี้ให้ได้ ผลลัพธ์สุดท้ายที่เราต้องการให้เกิดกับ ผู้ฟังการนำเสนอคืออะไร  เราอยากให้เขาคิดอะไร  หรือทำอะไรหลังจากการนำเสนอครั้งนี้  

โดยทั่วไปการนำเสนอมีสามเป้าหมายใหญ่ๆคือ  ทำให้คนเข้าใจในสิ่งที่เรานำเสนอ หรือทำให้เชื่อหรือ คล้อยตามในสิ่งที่เรานำเสนอ  หรือทำให้ลงมือทำตามที่เรานำเสนอ  

ตัวอย่างที่ดีคือภาพยนต์เรื่อง  An Inconvenient Truth by Al Gorr  อดีตรองประธานาธิบดีของอเมริกา  ในหนังเขาเริ่มตั้งแต่การอธิบายให้เรื่องภาวะโลกร้อนเป็นเรื่องง่ายๆโดยใช้สื่อที่น่าสนใจตั้งแต่กราฟฟิคไปจนถึงการ์ตูน  หลังจากนั้น เขาก็ทำให้คนดูเชื่อและคล้อยตามด้วยข้อมูลและสถิติทาง วิทยาศาสตร์  ตลอดจนหลักฐานด้วยภาพและภาพยนต์  จนกระทั่งตอนจบเขาก็มีการ  Call for actions  โดยมีรายการกว่ายี่สิบข้อให้คนที่ชมภาพยนต์เรื่องนี้เลือกไปปฏิบัติ ที่น่าเสียใจคือว่านักธุรกิจอย่างพวกเราจำนวนมาก  ตกม้าตายตั้งแต่การทำให้คนเข้าใจ มีข้อมูลที่เราควรตระหนักไว้ในการออกแบบการนำเสนอดังต่อไปนี้ 

จากหนังสือ  Listening – The forgotten skill by Madelyn Burley- Allen เขาบอกว่าโดยเฉลี่ยแล้ว ประสิทธิภาพในการฟังของคนทั่วไปอยู่ที่ประมาณ  25% 

ในหนังสือ  Developing Effective Training by Tony Pont  แนะนำไว้ว่า พยายามทำให้การนำเสนอ ของคุณสั้นเพียง  15-20  นาที  เพราะว่านั่นเป็นระยะเวลาที่ฟังที่เป็นผู้ใหญ่(Adult)ทั่วไปสามารถจะรับ ฟังการนำเสนอได้  หากเกินกว่านั้น มักจะไม่สามารถดึงสมาธิของเขาไว้ได้ 
นอกจากนี้  David L. Sousa กล่าวไว้ในหนังสือ  How the brain learn  ว่า หลังการเรียนรู้ไปยี่สิบสี่ ชั่วโมง  เราจะรักษาความรู้ได้เพียง 5%  เท่านั้นหากเป็นการรับฟังการบรรยาย หากให้ระดมความคิด และทำงานกลุ่มจะขึ้นมาถึง  50%  หากใช้วิธีลองฝึกฝนทักษะและความรู้นั้นจะเพิ่มขึ้นถึง 75%  และ หากนำไปใช้งานทันที  หรือนำไปสอนต่อ  จะสูงถึง  90%
 
หากเราตระหนักถึงธรรมชาติของมนุษย์ในการสื่อสารแล้ว เราน่าจะออกแบบการสื่อสารได้ดีขึ้น  อย่าง ที่  Ludwig Mies van Der Rohe (เกิด 27 มีนาคม ค.ศ. 1886 เสียชีวิต 17 สิงหาคม ค.ศ.1969)  ซึ่ง เป็นสถาปนิกที่โด่งดังและได้รับการยกย่องว่าเป็น Modern Architecture  กล่าวไว้ว่า More is Less  หรือ  ยิ่งให้มากคนยิ่งรับได้น้อย ดังนั้นเราต้องระมัดระวังอย่าอัดข้อมูลมากเกินไปในการนำเสนอ 
มีคำแนะนำในการออกแบบลำดับของสไลด์ใน PowerPoint ดังนี้


จัดทำสไลด์ตามลำดับของเนื้อหา 
เป็น Bullet point  ไม่ใช่  Word point นี่เป็นข้อผิดพลาดใหญ่เลยสำหรับคนทั่วๆไป  อย่าลืม ว่า  PowerPoint  ออกแบบมาเพื่อช่วยสื่อความ  หากมีข้อมูลที่ต้องนำเสนอมากมายแบบกรณีกระสวยโคลัมเบีย อย่าอัดข้อมูลลงในสไลด์  ให้ แจกเป็นเอกสารประกอบที่เป็น  Word Document  หรือมีตารางข้อมูลโดยละเอียด ไม่ใช่นำไปยัดใส่ ในสไลด์ทั้งหมด 
ในแต่ละ  Bullet  ควรจบในบรรทัดเดียวกัน ควรจะอยู่ระหว่างหกถึงแปดคำในภาษาอังกฤษ  หรือ ไม่เกินสิบคำในภาษาไทย  ให้นึกง่ายๆว่าเป็นการพาดหัวข่าวหนังสือพิมพ์ ไม่จำเป็นต้องเป็นประโยคที่ สมบูรณ์  ตัวอย่างเช่น  “ปูนใหญ่โกอินเตอร์”  “แอมเวย์ดับเบิ้ลยอดขายในห้าปี” “โฆษิต:กระตุ้น เศรษฐกิจพอแล้ว” 
ไม่ควรเกินหก Bullet  ในแต่ละหน้า  หรือไม่ควรเกินหกบรรทัดในแต่ละสไลด์ 
ใช้ตัวอักษรขนาดใหญ่  
ใช้สีตัวอักษรตัดกับพื้น Background ของสไลด์ 
ใช้ภาพประกอบ  อย่างที่สุภาษิตจีนบอกไว้ว่า  ภาพหนึ่งภาพบอกได้มากกว่าหมื่นคำพูด 
อย่าให้เทคนิคของ PowerPoint  ขโมยซีน ผู้นำเสนอคือศูนย์กลางความสนใจไม่ใช่เทคนิคที่ มากจนเกินพอดี

วันศุกร์ที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2555